Home -> Review -> Peplink Balance One รวมเน็ตเป็นเส้นเดียว เฟี้ยวสุดๆ

Peplink Balance One รวมเน็ตเป็นเส้นเดียว เฟี้ยวสุดๆ

Load Balance เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เหมือนๆกับรวม Internet 2 เส้นให้เป็นเส้นเดียว เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ผมคิดว่าจำเป็นต่อบริษัทที่ Internet เป็นเรื่องคอขาดบาดตายมากๆ พอดีได้ Load Balance มาตัวนึงยี่ห้อ Peplink (ฟังชื่อยี่ห้อแล้วอยากเป็นหมอขึ้นมาทันทีเลยวุ้ย) ลองอ่านรีวิวดูละกันครับ

s516889186543838851_p47_i1_w1200

Load Balance รุ่นเก่าแก่ที่คนไอทีบ้านเราใช้งานกันมาอย่างยาวนานคือ Linksys RV042 ที่ตอนนี้ หลังจากโดน Belkin ซื้อไป ก็เงียบหายไปเลย ไม่ค่อยทำตลาดในบ้านเราอีก ต่อมาภายหลังก็มี Load Balance จากหลายยี่ห้อ เช่น TP-LINK , Zyxel ผ่านหูผ่านตาเข้ามาบ้าง แต่ผมก็ยังไม่เห็นตัวที่พอจะเอาชนะความนิยมของ Linksys RV042 ได้ซักเท่าไหร่ อาจจะเพราะว่า บรรดาคนทำ Network เห็น Feature ที่แทบไม่ได้อัพเกรดใน RV042 แล้ว ยอมไปลง ClearOS หรือ Linux Firewall ทำ Load Balance กันเอาเองล่ะมั้ง

 

Screen Shot 2015-09-29 at 15.35.58

ผมเองก็ใช้มาหลายยี่ห้อ จนกระทั่งเขียน Blog ตอน หอพัก / คอนโด / Office เน็ตช้า ทำยังไงดี ซึ่งตอนเขียนเสร็จ มีคุณ Chaiyanan มาแอบฝากร้านตรง Comment ข้างล่างครับ ผมเลยลองถามพี่แกดูว่า เห็นแปะมาหลายที่มากเลยครับ ส่งมารีวิวซักตัวไหมครับ ถามไปเล่นๆ แต่แกดันส่งมาจริงๆ อย่างงี้ก็ต้องทดสอบกันซักหน่อย

IMG_0344

รุ่นที่ผมได้รับมาทดสอบก็คือ Peplink Balance One เป็นรุ่นเริ่มต้นในระดับ Small Business อื้อหือ หน้ากล่องประกาศกร้าวมาเลยทีเดียวว่า Unbreakable Internet Connections ป๋าจริงๆ

IMG_0345

แกะกล่องออกมาตัวเล็กน่ารักดีครับ Port การเชื่อมต่ออยู่ด้านหน้าหมด ด้านหลังไม่มีอะไรนอกจากปุ่มเปิดกับช่องเสียบ Power Adapter

IMG_0347

ถึงจะบอกว่าเป็นตัวเริ่มต้น แต่ Peplink Balance One ตัวนี้ก็ครบเครื่องนะครับ

  • 2 x Gigabit Wan
  • 8 x Gigabit LAN
  • USB สำหรับเสียบ Aircard เพื่อต่อกับ 3G/4G
  • มาพร้อม WIFI แบบ Dual Band ตามมาตรฐาน B/G/B
  • Throughput สูงสุดได้ 600Mbps
  • ตั้งตัวเองเป็น VPN Server ได้หลายมาตรฐาน ทั้ง IPSec / PPTP แถมยังมี PepVPN ของตัวเอง
  • เป็น Access Point Controller ที่ไว้คุม Access Point ของ Peplink เองก็ได้
  • มีระบบ InControl ที่ช่วย Monitor อุปกรณ์จากบน Cloud เลย
  • มี Captive Portal ไว้เพื่อทำ Authentication ได้ในตัวเลย หรือจะเชื่อมกับ RADIUS Server ก็ได้
  • Block เว็บได้
  • มีระบบ Network Monitor ที่ดู Client ที่วิ่งผ่านระบบได้ว่า ใครใช้อะไรอยู่เท่าไหร่บ้าง

โดยรวมแล้วผมถือว่าครบเครื่องเลยทีเดียวเชียวล่ะ เอ้ามาลองจิ้มเปิดเครื่องเพื่อดูความสามารถกันหน่อยดีกว่า

จะว่าไปถ้าจะทดสอบ Load Balance ก็ต้องทดสอบกับ ที่ๆมี Internet 2 เส้น ผมก็เลยเอามาทดสอบกับ Site ลูกค้าที่นึงที่มี Concurrent User ประมาณ 80 – 90 Devices โดยเฉลี่ยเพื่อทดสอบดูว่าตัวมันสามารถรับมือกับอุปกรณ์ที่เยอะขนาดนี้ไหวหรือเปล่า

IMG_0659

Internet 2 เส้นที่ใช้มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ครับ

  • มี True Docsis ความเร็ว 100/10 Mbps เชื่อมต่อแบบ Bridge ที่รับ DHCP มาจาก Cisco Router
  • CAT Fiber Optic ความเร็ว 30/3 Mbps ที่ทำ PPPoE ออกไปตรงๆ

Screen Shot 2015-09-29 at 16.21.00

หลังจาก Config อะไรเสร็จเรียบร้อยแล้ว หน้าแรกก็จะเป็น Dashboard ที่คอยสรุปสถานะของการเชื่อมต่อว่า WAN 1/2 อาการเป็นยังไงบ้าง ยังต่อดีอยู่หรือเปล่า Access Point ยังทำงานดีอยู่นะ แล้วก็ Uptime เท่าไหร่แล้ว (พอดีใช้เป็น Load Balance อย่างเดียวเลย Disable Wireless ไปครับ) มีบอกตัว CPU Load ด้วยว่าตอนนี้ใช้ไป 23%

ซึ่งหลังจากอ่านตัว Tech Document ดู ผมพบว่า จุดเด่นที่สุดของ Peplink ก็คือ Load Balance Algorithm นี่แหละครับ

ย้อนกลับไปตรงต้นเรื่อง ถึงแม้ว่าผมจะบอกว่า Load Balance ทำหน้าที่เหมือนรวม Internet 2 เส้นให้เป็น เส้นเดียว แต่นั่นเป็นคำอธิบายเพื่อให้เข้าใจหน้าที่การทำงานแบบง่ายๆเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง Load Balance รุ่นก่อนทำหน้าที่สลับการเชื่อมต่อ โดยอ้างอิงจาก Bandwidth ทั้ง Internet ทั้ง 2 เส้นครับ ยกตัวอย่างเช่น

ถ้า Internet เส้นแรก ความเร็ว 10Mbps เส้นที่สองความเร็ว 5 Mbps .. ดังนั้น Round Robin Ratio ก็คือ 2:1

นั่นหมายความว่า ตัว Load Balance จะถีบคนที่จะออก Internet ไปทางเส้นหนึ่งเป็นจำนวน 2 คน แล้วค่อยถีบไปยังเส้นสอง 1 คน สลับกันไปแบบนี้ (ซึ่งในความเป็นจริงมันไม่ได้สลับเป็นคน แต่สลับเป็น Session ครับ แต่ถ้าอธิบาย Session อีก เดี๋ยวจะยาว เรียกเป็นคนนี่แหละเข้าใจง่ายดี)

Screen Shot 2015-09-29 at 17.43.03

แต่ Peplink ได้ทำ Load Balance Algorithm ขึ้นมาทั้งหมด 7 แบบด้วยกันเพื่อให้เราเลือกกำหนดเป็น Rule ได้ว่า การเชื่อมต่อแบบไหน จะใช้ Load Balance Algorithm แบบไหนนั่นเอง โดยทีทั้ง 7 แบบ มีดังต่อไปนี้ครับ

  1. Weight Balanced : กำหนดคนที่จะออกเน็ตโดยยึดจาก ความเร็วของ Internet ในแต่ละเส้น เส้นไหนเร็วสุด หรือมี Bandwidth เหลือมากสุด เส้นนั้นจะถูกเลือกให้เป็นเส้นที่ส่งออก Internet ให้กับ Client นั้นๆ (ใช้งานง่ายสุด อันนี้คือให้ Load Balance ช่วยคิดว่าเส้นไหนเร็วสุด ก็ออกเส้นนั้นไปเลย)
  2. Priority : กำหนดลำดับขั้นให้กับ Internet แต่ละเส้น แล้วเส้นไหนลำดับสูงสุด ก็ให้ออกที่เส้นนั้น และถ้าเน็ตเส้นนั้นหลุดหรือมีปัญหาก็จะย้ายไปส่งข้อมูลที่ลำดับถัดไป
  3. OverFlow : กำหนดลำดับขั้นให้กับ Internet แต่ละเส้น แต่จะส่งไปเส้นถัดไปก็ต่อเมื่อ Internet ในเส้นแรกหนาแน่นแล้วหรือเกิดการ Congestion แล้ว
  4. Persistence : เป็น Algorithm ที่ออกแบบมาเพื่อแก้ไขการเชื่อมต่อแบบ Persistent Connection ทั้งหลายเช่น HTTPS หรือ SSH ทำให้เมื่อเราส่งข้อมูลออกจาก WAN ไหน ขากลับก็จะรับกลับจากขานั้นเพื่อให้การเชื่อมต่ออยู่บน WAN เดิม (ใครใช้ Internet Banking จะเป็นจะต้องใช้ Feature นี้เลยครับ)
  5. Enforced : บังคับให้ Connection นั้นๆ ออกเน็ตเส้นนี้ตลอด ไม่ว่าจะล่มหรือช้าแค่ไหนก็ไม่สนใจ
  6. Lowest Latency : Latency คือ ความเร็วในการตอบสนองของข้อมูลที่วิ่งอยู่บนเน็ตเส้นนั้นๆ พูดให้เข้าใจง่ายก็คือ Ping ออกไปแล้ว เส้นไหน กลับมาเร็วสุด เอาเส้นนั้นแหละ เหมาะมากกับขาเกมออนไลน์ที่ต้องการความฉับไวของข้อมูล
  7. Least Used : Peplink จะตรวจสอบว่าเน็ตเส้นไหน เหลือ Bandwidth เยอะที่สุด ก็จะเลือกเน็ตสั้นนั้นสำหรับออก Internet ไป

Algorithm ทั้ง 7 นี้ ไม่ได้แปลว่าคุณจะต้องเลือกอย่างใดอย่างนึง คุณสามารถเลือกผสมกันก็ได้

ถ้าเป็นผม ผมตั้งไว้แบบนี้ครับ

  • HTTPS กับ SSH ต้องเลือกแบบ Persistence อยู่แล้ว ไม่อย่างงั้นการเชื่อมต่อจะหลุด
  • HTTP เฉยๆ ที่เอาไว้ใช้สำหรับเปิดเว็บทั่วๆไป ใช้แบบ Weight Balanced
  • Lowest Latency เอาไว้ใช้กับเกมออนไลน์
  • Download ไฟล์ผ่านระบบ P2P ให้ใช้แบบ Least Used

แต่ก็ขึ้นอยู่กับ Service ที่คุณใช้งานบนเครือข่ายของคุณนะครับ เค้ามีมาให้ 7 แบบเลือกใช้ผสมกับ Protocol ได้ตามใจชอบเลย

จุดเด่นอย่างที่สองที่ผมชอบอีกเรื่องก็คือ ตัว Network Monitor ครับ ซึ่งส่วนใหญ่เจอแต่พวกหน้าตาดูยากๆ ทั้งน้านนน นานๆทีจะเจอ Network Monitor ใน Router ที่ดูง่ายขนาดนี้

Screen Shot 2015-09-29 at 16.54.32

หน้า Monitor ที่สามารถแยก Protocol แล้วบอกได้ว่า แต่ละ Protocol มีคนใช้งานอยู่กี่ Session รวมไปถึงบอกด้วยว่า WAN 1 กับ 2 มีคนใช้งานอยู่เท่าไหร่

Screen Shot 2015-09-29 at 16.57.11

หน้า Client List บอกหมดว่าแต่ละคนใช้ Bandwidth เท่าไหร่ แถมทำ Sorting จากมากไปน้อยได้ด้วย

SNAG-0133

หน้า Bandwidth Monitor ที่มีกราฟบอกความเร็ว ทั้งแบบ Real Time / รายชั่วโมง / รายวัน / รายเดือน

SNAG-0136

จุดที่ชอบอย่างที่สาม คือระบบ InControl2 ที่เป็นระบบที่คอย Monitor อุปกรณ์ผ่านระบบ Cloud ได้ ทำให้ช่วย Monitor อุปกรณ์จากภายนอก โดยที่ไม่ต้อง Remote เข้าไปที่ Site

ตัว InControl2 สามารถดูแลอุปกรณ์ของ Peplink ได้ทุกตัว ทั้ง Load Balance / Access Point / ดูจำนวน Client ที่ต่อผ่านอุปกรณ์ต่างๆ แยกกันก็ได้ เช่นใครต่อผ่าน LAN / Wireless

SNAG-0137

ปิดท้ายด้วย ระบบ Notification ที่จะแจ้งเตือนเมื่อเกิดสถานการณ์ต่างๆ ผมตั้งไว้ว่า ถ้า WAN 1 / 2 มีการอาการสายหลุด หรือ ping ไปยัง Google DNS ไม่ได้เป็นเวลา 30 วินาที ให้แจ้งผมด้วย ผลก็คือ แจ้งแบบรัวยับเลยครับ ฮ่าๆ

IMG_0654

สรุปความรู้สึกหลังจากที่ทดสอบใช้งานมาประมาณ 1 อาทิตย์กับ Site ที่มี Client ประมาณ 70-80 คน

  • ความเสถียรสูงมาก ไม่ช้า ไม่งอแง ไม่ Hang งี่เง่า
  • ระบบ Peplink Load Balance Algorithms ทั้ง 7 แบบทำให้เลือกรูปแบบในการกระจายข้อมูลออกทั้ง 2 WAN ที่ผมมีได้ดีมาก
  • ระบบ Monitor ดูง่าย ดึงข้อมูล SNMP ไปดูก็ได้
  • ระบบ Incontrol2 ก็เจ๋งดี ตอนนี้อุปกรณ์ Network ส่วนใหญ่ก็จะมี Cloud มาควบคุมอยู่แล้ว แต่จะอยู่กันบน Enterprise อันนี้เป็น Small Business ตัวแรกๆที่เห็นเลยครับ
  • Balance One ครบเครื่องดี ถ้า Office คุณขนาดประมาณซัก 40 ตรม หรือมีคนทำงานซัก 40-50 คน ใช้มันตัวเดียวอยู่เลยครับ
  • อ้อ ใช่แล้ว ทำ Inbound Load Balance ได้ด้วยนะครับ เกิดคุณมี Server อะไรซักอย่างตั้งอยู่ที่ Office แล้วอยากจะให้คนนอกเข้ามาใช้งานแต่กลัว Internet เส้นเดียวไม่พอ สามารถทำ Load Balance ย้อนกลับจากขาออก เป็นขาเข้า เพื่อเพิ่ม Bandwidth ให้ Server ข้างในได้ด้วย

ขอบคุณทาง http://cyn.co.th/ สำหรับ Peplink Balance One ที่ส่งมาทดสอบด้วยนะครับ สำหรับราคา สอบถามทาง Dealer ที่จัดจำหน่ายโลดเลยครับ

 

Check Also

รีวิว Auto-Empty Dock ของที่ต้องมีถ้ามีคุณ Roborock s7

ไม่ต้องเกริ่นเยอะ สำหรับคนที่ใช้งานหุ่นยนต์ทำความสะอาด ถึงแม้ว่ามันจะสะดวกสบายก็เถอะ แต่มันก็ยังเหลือ ภาระนิดๆ ให้คุณต้องมาจัดการบ่อยๆ นั่นก็คือ ต้องเอาฝุ่นใน Dustbin มันมาทิ้ง!! Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine