Home -> bicycle -> รีวิวสายคาด Smart Heart Rate Monitor ของ Runtastic รุ่นใช้กับ iPhone และ Android

รีวิวสายคาด Smart Heart Rate Monitor ของ Runtastic รุ่นใช้กับ iPhone และ Android

ก่อนหน้านี้ผมได้รีวิวตัว วัดรอบขากับความเร็วจักรยานของ Runtastic .. วันนี้จะมารีวิวอุปกรณ์อีกตัวที่จำเป็นมากสำหรับการออกกำลังกาย ไม่ใช่แค่ใช้กับจักรยาน แต่ใช้กับหลายๆกิจกรรมเลยครับ นั่นคือ ตัวจับอัตราการเต้นของหัวใจ หรือ Smart Heart Rate Monitor ของ Runtastic ครับผม

หัวใจของคนเราจะมีการเต้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปให้ส่วนต่างๆของร่างกาย โดยที่วัดค่าออกมาเป็นหน่วย ครั้ง/นาที ซึ่ง ยิ่งเราออกกำลังกายให้หนัก หรือเหนื่อยมากขึ้นเท่าไหร่ หัวใจก็จะยิ่งเต้นเร็วมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นสำหรับนักกีฬาหรือคนที่ชอบออกกำลังกาย ส่วนใหญ่จะใช้ตัว Heart Rate Monitor หรือตัววัดอัตราการเต้นของหัวใจ เพื่อบอกให้รู้ว่า ตอนนี้เครื่องยนต์ของเรากำลังทำงานอยู่ระดับไหน เพื่อที่จะประเมินความสามารถของร่างกาย ว่าจะออกกำลังกายต่อ หรือจะพักดี นั่นแหละครับ

8l3IFWTn9OD-NoFJO9k4Fc9oIoKyNMfVP12Y_TQEF2U_2JXgnGHcCuP1V4kkv0PYJiHpIa7WOXEh6uJhrTD0ef8_xiKaxzJVT8UGqk1MZFwoXdJU3kP1a8sCUIkY0zd5k4M_HzD2cREwYHn9Cazq6O7nv69oU1h4e4R0rUJGs2MoNtc_iK2WIG2IXm2WUHs7E3QBaGpODIfOMiD7knY3

แต่ไม่ใช่ว่าเราจะสักแต่ออกกำลังกายแล้วก็ฝืนร่างกายไปเรื่อยๆนะครับ การเต้นของหัวใจจะมีระดับการเต้นสูงสุดที่หัวใจนั้นสามารถรับได้ ซึ่งถ้าหัวใจของคุณเต้นในระดับที่สูงสุดนานๆ มันจะหยุดทำงานแล้วคุณก็จะตายไปเลยนะครับ อันนี้อันตรายมากๆ

pulseratechart

และในการออกกำลังกาย เค้าจะมีการแบ่งโซนการเต้นของหัวใจออกเป็นอีก 5 โซนด้วย โดยที่แต่ละโซนจะมีวัตถุประสงค์ในการออกกำลังกายที่ไม่เหมือนกันครับ วิธีการคำนวนแบบง่ายๆก็คือ

  • โซนที่ 1 : จะให้หัวใจเต้นในอัตรา 50 – 60 % ของ Max Heart Rate และออกกำลังกายต่อเรื่องอย่างน้อย 20 – 40 นาที ประโยชน์ที่ได้ก็คือ พัฒนาเรื่องของการซ่อมแซมส่วนต่างๆของร่างกาย เรียกได้ว่าเหนื่อยแบบสบายๆ เหงื่่อซึมนิดหน่อย หายใจไม่หอบ ยังมีแรงพูดได้อยู่
  • โซนที่ 2 : จะให้หัวใจเต้นในอัตรา 60 – 70 % ของ Max Heart Rate และควรจะออกกำลังกายในโซนนี้อย่างน้อย 40 – 80 นาทีเพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุด โดยที่โซนนี้จะเป็นการออกกำลังกายที่ร่างกายดึงพลังงานจากไขมันมาใช้ได้อย่างเต็มที่ ที่สุด ทำให้การลดน้ำหนักเห็นผลอย่างมาก ถ้าออกกำลังกายโซนนี้จะเหงื่อออกมาเยอะระดับนึง หายใจหอบ แต่ยังพูดได้
  • โซนที่ 3 : จะให้หัวใจเต้นในอัตรา 70 – 80% ของ Max Heart Rate การออกกำลังโซนนี้เรียกว่า แอโรบิคโซน ควรใช้เวลาไม่เกิน 10 – 30 นาที การออกกำลังกายในโซนนี้จะทำให้ร่างกายมีการดูดซึมออกซิเยนอย่างเต็มที่ เพิ่มความอึดในร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง เป็นโซนที่ออกกำลังกายแล้วเหงื่อท่วมที่สุด หายใจหอบ พูดเป็นคำๆพอได้ บางคนพูดไม่ได้เลย
  • โซนที่ 4 : จะให้หัวใจเต้นในระดับ 80 – 90 % ของ Max Heart Rate คนทั่วๆไปที่ไม่ใช่นักกีฬาส่วนใหญ่จะมาไม่ถึงโซนนี้กัน เพราะมันเหนื่อยมากๆ เป็นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มศักยภาพของร่างกาย โดยเฉพาะ จะมีการปวดกล้ามเนื้อและหายใจหอบมากๆ ไม่ใช่นักกีฬาก็ไม่ควรโหมออกกำลังกายระดับนี้นะครับ
  • โซนที่ 5 : หัวใจจะเต้นในระดับ 90 – 100 % ของ Max Heart Rate … อันนี้เหมาะสำหรับพวกนักวิ่งความเร็วสูงระยะสั้นเท่านั้นนะคร้าบ และต้องอยู่ในการดูแลของคนอื่นด้วย เกิดเราร่วงไป ไม่มีคนมาดูแลเราจะตายเอาง่ายๆเลยนะครับ

แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าหัวใจของเราสามารถเต้นได้สูงสุดเท่าไหร่ มันมีวิธิในการคำนวนอยู่ครับ ซึ่งค่านี้ เราจะเรียกว่า Max Heart Rate โดยที่สามารถคำนวนได้ง่ายๆ ตามสูตรดังต่อไปนี้นะครับ

ถ้าคุณเป็นผู้ชาย ให้เอา 220 – อายุของตัวเอง เช่นผมอายุ 36 ก็ให้เอา 220 – 36 = 184 นี่ก็คือ อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดที่หัวใจของผมสามารถรับได้

ถ้าคุณเป็นผู้หญิงให้ใช้ 226 – อายุของตัวเอง แค่นี้ก็ได้แล้วครับ

แต่นี่เป็นแค่สูตรคร่าวๆเท่านั้นนะครับ ยังมีสูตรโดยละเอียดที่จะต้องวัดภายใต้การดูแลของแพทย์อีก ถ้าคุณไม่ใช่นักกีฬาอาชีพใช้สูตรนี้ก็เพียงพอแล้วครับ

ทีนี้เพื่อให้ออกกำลังกายให้ได้ตามโซนที่อยากจะปฏิบัติ เราก็ต้องมาทำการคำนวนซักหน่อยนะครับว่า ถ้าอายุ 36 แบบผม อยากจะออกกำลังกายในโซน 2 หรือ โซน 3 จะต้องให้หัวใจเต้นกี่ครั้งต่อนาทีกันแน่ สูตรง่ายๆก็คือ

เอา Max Heart Rate x % ของแต่ละโซน แค่นี้แหละครับ  (จริงๆมันมีหลายสูตรมากครับ ถ้าง่ายๆเอาแค่นี้ก็พอ)

หรือเอาง่ายๆ ก็ไปใช้ Heart Rate Calculator ก็ได้นะครับ http://www.briancalkins.com/HeartRate.htm

SNAG-0106

หลายคนอ่านแล้วรู้สึกว่า “เฮ้ย เมิงจะเรื่องมากไปไม๊เนี่ย แค่ออกกำลังกาย ก็เอาให้มันง่ายๆก็ได้ ” อันนี้มันก็จริงครับ แต่สำหรับคนที่รู้สึกสนุกกับการออกกำลังกายและอยากจะให้การออกกำลังกายของตัวเองสนุกแล้วก็เห็นประสิทธิภาพมากที่สุด เครื่องมือและการออกกำลังกายแบบนี้มันก็จำเป็นครับ ซึ่งคุณจะไม่มีทางรู้ระดับการเต้นของหัวใจของคุณเลย ถ้าคุณไม่ใช้อุปกรณ์ประเภท Heart Rate Monitor ครับ

IMG_0894

ชุดที่ผมซื้อมา คือ Smart Heart Rate  Monitor นะครับ เมื่อแกะกล่องออกมา จะพบกับของ 4 อย่างด้วยกันนั่นก็คือ

  • ตัว Heart Rate Monitor ของ Runtastic
  • Activation Code สำหรับซื้อ App Runtastic PRO GPS Running ราคา 4.99$ แต่อันนี้แจก CODE ฟรีมาในกล่องเลยครับ (https://itunes.apple.com/th/app/runtastic-pro-gps-running/id366626332?mt=8)
  • คู่มือการใช้งาน
  • สายคาดออก ซักได้ ปรับระยะได้

IMG_0895

ตัววัดอัตราการเต้นของหัวใจ ขนาดเล็กมากครับ คาดแล้วไม่เกะกะ น้ำหนักประมาณ 89 กรัม รวมสายคาดแล้ว

IMG_0896

ด้านหลังจะมีหมุดที่เอาไว้ยึดกับสายคาด และก็ใช้ถ่านกระดุมแบบเดียวกับนาฬิกาทั่วไป

IMG_0897

สายคาดยางยืด ไว้ประกอบกับตัว Heart Rate Monitor

IMG_0899

 

ทีนี้เวลาที่จะใช้งานก็เอาประกอบสายคาด แล้วคาดไว้ที่หน้าอกตรงแถวๆใต้ราวนมนะครับ  แล้วก็เข้าไปที่ App Runtastic เลย ซึ่งเจ้า Runtastic Smart Heart Rate Monitor รองรับทั้งหมด 3 App ด้วยกันนะครับนั่นคือ

  • Runtastic PRO GPS Running (นักวิ่ง)
  • Runtastic Road Bike (ปั่นจักรยาน)
  • Runtastic Mountain Bike (ปั่นเสือภูเขา)

คาดสายทิ้งเอาไว้ก่อนแล้วมาเปิด App นะครับ ให้ไปที่ Setting -> Sensor -> Sensor -> Bluetooth Smart นะครับ คาดไว้ซักพัก สัญลักษณ์รูป Heart Rate จะขึ้นเป็นสีเขียวแบบในรูปครับ

จากนั้นให้ถอยกลับไปที่เมนู Setting -> Sensors -> Heart Rate Zone ->  ทำการกรอก Max Heart Rate กับ Resting Heart Rate ลงไปซะ

IMG_1052

ซึ่งวิธ๊คำนวนค่า Resting Heart Rate ก็สามารถรู้ได้ง่ายๆ ครับ ตอนตื่นมาตอนเช้า ก็เอาสายรัดคาดออกซักทีนึง เราก็รู้แล้วว่าค่า Resting Heart Rate ของเรามีค่าเท่าไหร่ พอกรอกเสร็จ โปรแกรมก็จะคำนวนแต่ละโซนให้โดยอัตโนมัติครับ

IMG_1053

ทีนี้เมื่อเราออกไปวิ่ง หรือ ปั่นจักรยาน ตัวโปรแกรมก็จะเก็บสถิติของอัตราการเต้นของหัวใจเรา ควบคู่ไปกับสถิติการวิ่ง หรือ การปั่นจักรยานไปด้วยนั่นเองครับ

IMG_1027

สำหรับตัวผมเอง หลังจากที่ติดสายรัด Heart Rate Monitor กับ ตัววัดความเร็วรอบขา + ความเร็วจักรยาน ทำให้การปั่นจักรยานมันส์กว่าเดิมมากเลยคร้าบ เพราะว่าผมจะเปิด Runtastic Road Bike ให้จับสถิติการปั่นเอาไว้ จากนั้นก็เสียบหูฟัง โดยที่ตัว App จะบอกสถานะของรอบขา และ หัวใจ มาเรื่อยๆ เวลาที่เราเปลี่ยนโซนหัวใจ ทำให้เราประเมินการออกแรงของตัวเองได้ แล้วก็ใช้แรงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ

สรุปคร่าวๆกับ Runtastic Smart Heart Rate Monitor

  •  น้ำหนักเบา สายคาดออกออกแบมาดี รัดแล้วไม่รำคาญหรือมีส่วนใดมาบาดกับร่างกาย
  • เปลี่ยนถ่านง่าย
  • Setup ไม่ยุ่งยาก
  • ใช้งานได้กับ iPhone 4S,5,5S,5C หรือ Android 4.3 ที่รองรับระบบ Bluetooth Smart ครับ สำหรับโทรศัพท์มือถือรุ่นอื่นผมแนะนำให้ใช้ตัว Heart Rate Combo Monitor ที่มีตัว Receiver ต่างหาก สามารถใช้กับโทรศัพท์มือถือ Smartphone ทั่วๆไปได้ครับ
  • ราคา 2,900 บาท ไปสอยกันได้ ที่ Melonbox.com เลยครับ 

Check Also

รีวิว Auto-Empty Dock ของที่ต้องมีถ้ามีคุณ Roborock s7

ไม่ต้องเกริ่นเยอะ สำหรับคนที่ใช้งานหุ่นยนต์ทำความสะอาด ถึงแม้ว่ามันจะสะดวกสบายก็เถอะ แต่มันก็ยังเหลือ ภาระนิดๆ ให้คุณต้องมาจัดการบ่อยๆ นั่นก็คือ ต้องเอาฝุ่นใน Dustbin มันมาทิ้ง!! Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine

Leave a Reply