Home -> bicycle -> แก้ไขปัญหา เท้าชา เป้าชาในการปั่นจักรยานด้วยระบบ GeBiomized

แก้ไขปัญหา เท้าชา เป้าชาในการปั่นจักรยานด้วยระบบ GeBiomized

สำหรับคนที่ปั่นจักรยานอย่างจริงจังในระดับออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือระดับนักกีฬา การทำ Bike Fitting เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะทำให้คุณออกกำลังกายด้วยกีฬานี้โดยที่ไม่บาดเจ็บ ซึ่งอาการบาดเจ็บของแต่ละคนก็จะมีไม่เหมือนกัน

โดยที่อาการที่เจอกันบ่อยก็คือ อาการ เป้าชา หรือ เท้าชานี่แหละครับ … อาการนี้ เกิดจากการที่มุมในการปั่นผิดองศา ทำให้เกิดอาการกดทับ หรือใส่แรงที่มากเกินไปในจุดอย่าง เป้า หรือ เท้า

ผมไปทำ Bike Fitting กับพี่อิ๊ด ร้าน Sporttech มาเมื่อหลายเดือนก่อน โดยที่พี่อิ๊ดบอกว่า หากมีปัญหาก็กลับมา recheck เพื่อแก้ไขอาการบาดเจ็บได้

1959632_10154713467010524_5224011126912733241_n

พอดีช่วงหลังๆ มีอาการมือชา และเท้าขวาชา ตอนที่ปั่นระยะทางไกลๆเลยกลับไปปรึกษาพี่อิ๊ดอีกรอบ ซึ่งการกลับมาครั้งนี้ พี่อิ๊ดย้ายร้านไปอยู่ที่ใหม่ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อร้านเป็น Cycling Project เพื่อให้รองรับนักปั่นสายวู่วามในประเทศไทยกันเลยล่ะครับ

10517697_10154713466725524_4854576858803482411_n

เดินเข้าร้านใหม่พี่แกไป ตกใจมาก เฟรมเทพๆ อย่าง BMC / Willier / Fondrist / No22 มีเพียบ อะไหล่ขั้นเทพเต็มร้าน

IMG_4498

รอบนี้พี่อิ๊ด ทำห้อง Fitting ใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิมมากๆ พร้อมอุปกรณ์แปลกๆมาอีกเพียบครับ ซึ่งการ re-check ครั้งนี้ ผมก็ต้องติดตัว Sensor เพื่อเก็บข้อมูลในเครื่อง Retul เหมือนคราวที่แล้วเป๊ะ แต่รอบนี้ ปัญหาในการปั่นของผมอยู่ที่ ร่างกายผมอ้วนนนนขึ้นครับ (โอ้วว ม่ายยยยยย) เลยทำให้ร่างกายเปลี่ยน น้ำหนักกดทับลงบนมือมากขึ้น เลยเกิดอาการมือชา ส่วนอาการเท้าชาก็เกิดขึ้นจากพุงที่ใหญ่ขึ้น ทำให้เวลาปั่น ขาจะเอียงออกเพราะโดนพุงเบียด น้ำหนักที่กดลงบนบันไดก็เลยเอียงไปยังด้านนิ้วก้อย ทำให้เกิดอาการเท้าชาครับ (โอ้โห แม่เจ้า)

IMG_4513

ซึ่งการแก้ไขรอบนี้ พี่อิ๊ด ก็ถอยเบาะลงมาอีกนิด ตามด้วยการเสริม Spacer หรือแหวนรองที่บันไดประมาณ 2 มม. เพื่อแก้ไขอาการเข่าเบียดพุง (เศร้าชิป)

IMG_4509

อย่างไรก็ตาม Blog ตอนนี้ก็คงจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับการ re-check หรอกครับ ประเด็นสำคัญมันอยู่ที่ ระบบการตรวจสอบอาการบาดเจ็บในการปั่นจักรยานแบบใหม่ที่พี่อิ๊ดแกไปศึกษาเพิ่มเติมมา มันคือระบบที่ชื่อว่า Gebiomized ครับ

IMG_4518

ระบบ GeBiomized เป็นระบบของทางเยอรมันครับ ซึ่งเป็นเทคนิคคนละแบบกับการใช้ Retul .. อย่าง Retul จะติด sensor ตามจุดต่างๆของร่างกาย เพื่อหาองศาที่ถูกต้องการในปั่น ซึ่งมันก็มีเรื่องที่ Retul แก้ไขไม่ได้ด้วยครับนั่นก็คือ

IMG_4516

อาการเจ็บเป้านั่นเองครับ ผมเชื่อว่านักปั่นทั้งหลายน่าจะมีอาการเจ็บเป้า เวลาปั่นไปซักระยะนึงใช่ไหมครับ โดยที่ คำที่เราได้ยินกันเวลาเกิดปัญหานี้ก็คือ ไปซื้อเบาะโน้น เบาะนี้มาใช้สิ มันดีนะ บรรดานักปั่นทั้งหลายก็ ซื้อเบาะเทพๆมาใช้โดยหวังว่ามันจะแก้ไขอาการบาดเจ็บได้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ จะแก้ไม่ได้ครับ เพราะสรีระของคนเราไม่เหมือนกัน เบาะที่ทำให้เพื่อนของเราปั่นสบาย มันก็ไม่ได้แปลว่าจะเข้ากับก้นของเราครับ

IMG_4539

อาการเป้าชาหรือเจ็บ ส่วนใหญ่เกิดจากน้ำหนักที่มากเกินไป ไปกดลงในจุดๆเดียว แต่อาการแบบนี้ เราจะไปบอกคนแก้ไขยังไงล่ะครับ โดยเฉพาะสาวๆ ซึ่งคงจะพูดไม่ได้นแน่ๆล่ะ ว่า พี่ขา นู่เจ็บเป้าตรงตำแหน่งนี้อ่ะค่า

IMG_4515

พี่อิ๊ดแกรับ Fitting ลูกค้าผู้หญิงมากขึ้น เจอปัญหาแบบนี้บ่อย ก็เลยต้องหาเครื่องมือเพิ่มจาก Retul ครับ เลยได้ระบบ Gebiomized มาช่วยเหลือในตรงนี้

IMG_4523

 

ขั้นตอนการใช้ระบบ Gebiomized ก็ไม่ได้ยากอะไรครับ เอาตัว Sensor ไปหุ้มกับเบาะ แล้วก็คาดตัวรับสัญญาณไว้ที่เอวจากนั้นก็ขึ้นรถปั่นได้เลยครับ

IMG_4540

โดยที่แรงกดทับทั้งหมดของเราบนเบาะจะส่งค่ากลับมายังคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เราเห็นถึงค่ากดทับในแต่ละส่วนของเบาะ โดนไล่สีจาก น้ำเงินไปยังแดงครับ

ซึ่งค่าของแรงกดทับนี้มาแบบ Real time เลยครับ ระหว่างที่กำลังเก็บค่า พี่อิ๊ดก็จะให้ผมปั่นทดสอบในความเร็วต่างๆกันไปเรื่อยๆ เพื่อดูว่า ผมมีอาการกดทับในจุดใด และที่ช่วงความเร็วใดบ้าง ซึ่งอาการของผมนั้นเรียกได้ว่าโชคดีที่สามารถใช้ Retul ในการแก้ไขปัญหาได้ การใช้ Gebiomized ครั้งนี้ก็คือ ใช้เพื่อทดสอบเฉยๆว่าตัวระบบมันทำงานยังไง จะได้มีเรื่องมาเขียนเล่าให้ทุกคนฟังนี่แหละครับ

IMG_4531

แล้วการแก้ไข อาการเจ็บเป้าจะทำยังไง? ถ้าขึ้นเครื่อง Gebiomized แล้วพบว่า โซนที่เกิดอาการบาดเจ็บอยู่ตรงจุดไหนของเป้า พี่อิ๊ด ก็อาจจะแก้ไขด้วยการใช้ Retul มาปรับองศาร่างกายได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้นครับ เพราะรู้แล้วนี่ว่าเจ็บตรงไหนแบบเป๊ะๆ

รวมไปถึงถ้าเบาะที่ใช้ไม่เหมาะสมกับสรีระ ก็สามารถเลือกหาเบาะที่ช่วยลดอาการกดทับได้ตรงเป้ามากขึ้น ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาไปแสวงหาเบาะที่เข้ากับตูดของเรา อย่างที่นักปั่นทั้งหลายเคยเจอกันนี่แหละครับ

IMG_4543

และระบบ Gebiomized ไม่ได้มีแค่เช็คอาการบาดเจ็บตรงเป้าอย่างเดียวนะครับ อีกจุดนึงที่ยากจะบอก ก็คือ รองเท้านี่แหละ บางทีเราก็บอกไม่ได้ว่า มันมีอาการกดทับเยอะไปตรงไหน เพราะอาการเท้าชา หรือเจ็บเนี่ย บางทีมันก็เกิดจากการสะสมไปนานๆ เช่นปั่นซัก 10 กิโลเมตรอาจจะไม่มีอาการ แต่จะไปแสดงอาการตอนปั่นนานกว่านั้นอะไรแบบนี้

IMG_4552

เราก็สามารถใช้ Sensor ของ Gebiomized ใส่เข้าไปในรองเท้าเพื่อหาแรงกดทับตอนปั่นได้ด้วยเช่นเดียวกันครับ

IMG_4561

ค่าน้ำหนักที่แสดงออกมาก็เป็น Real Time เช่นเดียวกันกับตอนเช็คเป้าแหละครับ อย่างในรูปเนี่ย จะเห็นได้ว่า อาการเท้าชาของผม จะอยู่บริเวณข้างเท้าขวา และปลายเท้าซ้าย ตอนที่กดบันไดถีบลงไป

จริงๆปัญหานี้ ครึ่งนึงก็เกิดจาก รองเท้าคลีทที่เป็นรองเท้าแบบเสือภูเขาของผม มีอาการพังแล้วนั่นเองครับ
ตัวแผ่นยึดคลีทหลวม ทำให้เท้าขวาของผมไม่ได้ล็อคอยู่กับบันไดแน่นซักเท่าไหร่ กลายเป็นอาการบาดเจ็บที่ผมก็นึกไม่ถึงเหมือนกัน

IMG_4533

การปั่นจักรยานแบบจริงจัง มันมีเรื่องให้ต้องปรับแต่งกันเยอะ หลายๆคนอาจจะคิดว่า เยอะไปป่าววะ แค่ปั่นจักรยานแค่นี้  ต้องมาทำอะไรเรื่องมากแบบนี้ด้วย แต่พี่อิ๊ด แกบอกผมเอาไว้คำนึงว่า “ธรรมชาติไม่ได้ออกแบบร่างกายมนุษย์มาเพื่อให้ปั่นจักรยาน แต่เราต้องปั่นจักรยานให้ได้เป็นธรรมชาติ” ซึ่งถ้าคุณรักการปั่นจักรยาน และคิดจะเลือกการปั่นจักรยานเป็นกีฬาที่คุณจะเล่นไปตลอดชีวิต ก็มาทำ Bike Fitting เถอะครับ จะได้มีความสุขเวลาปั่นจักรยาน

ถ้าอยากจะลองไปทำ Bike Fitting ก็ไปสอบถามข้อมูลได้ที่ Facebook ของร้าน Cycling Project ได้เลยนะครับ https://www.facebook.com/cyclingprojects

Check Also

การเรียนรู้รูปแบบใหม่ของ ม.กรุงเทพ ที่ทำให้อยากกลับไปเป็นนักเรียนอีกครั้ง

นี่คือความรู้สึกของผมจริงๆ ตอนที่นั่งฟังอยู่ในงานแถลงข่าวเปิดตัวหลักสูตรใหม่ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เมื่อวันอังคารที่ 18 มิถุนายน 2019 ที่ผ่านมานี่แหละ ต้องเล่าให้ฟังก่อน ที่ ม.กรุงเทพเนี่ย เป็นมหาวิทยาลัยที่จะใช้ Creativity หรือความคิดสร้างสรรค์ เป็นแกนกลางแล้วนำไปผสานกับเทรนด์อื่นๆของโลก เพื่อสร้างเป็นหลักสูตร …

117 comments

Leave a Reply