นี่คือความรู้สึกของผมจริงๆ ตอนที่นั่งฟังอยู่ในงานแถลงข่าวเปิดตัวหลักสูตรใหม่ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เมื่อวันอังคารที่ 18 มิถุนายน 2019 ที่ผ่านมานี่แหละ
ต้องเล่าให้ฟังก่อน ที่ ม.กรุงเทพเนี่ย เป็นมหาวิทยาลัยที่จะใช้ Creativity หรือความคิดสร้างสรรค์ เป็นแกนกลางแล้วนำไปผสานกับเทรนด์อื่นๆของโลก เพื่อสร้างเป็นหลักสูตร หรือแนวทางการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยออกมา เช่นก่อนหน้านี้ก็จะมี Creativity + Entrepreneurship คือการเอาความคิดสร้างสรรค์มารวมร่างกับการเป็นเจ้าของธุรกิจ ทำให้มีคณะใหม่ๆ ที่สอนเพื่อการเป็นเจ้าของธุรกิจโดยเฉพาะ ปั้นแบรนด์ สร้างธุรกิจของตัวเองกันตั้งแต่ปีหนึ่งเลยทีเดียว
ในปีนี้ ทาง ม.กรุงเทพ ประกาศว่า เราจะใช้ Creativity รวมร่างกับ Technology ครับ โอ้วววววว ไอ้เรื่องเทคโนโลยีเนี่ย มันเป็นสิ่งที่สำคัญในธุรกิจสมัยนี้มาก ผมเองก่อนหน้านี้ทำงานสื่อ แต่ตอนนี้ย้ายมาเปิดบริษัทของตัวเอง ต้องเอาเทคโนโลยีมากมายมาใช้ในธุรกิจตัวเอง ทั้งเพื่อลดค่าใช้จ่าย แล้วก็เปิดช่องทางใหม่ๆ แล้วของ ม.กรุงเทพจะไปในแนวไหนล่ะ
พิธีกรในงานแถลงข่าวใช้ AI ที่ชื่อ C712 มาเป็นพืธีกร ก็เจ๋งดีแฮะ ให้คนอัดเสียงไว้ก่อนแล้วแปลงเสียงเป็นหุ่นยนต์ อันนี้เป็น Gimmick ที่เจ๋งดี เริ่มต้นมาก็แสดงให้เห็นเลยว่า อย่างน้อยงานพิธีกร มีโอกาสอย่างมากที่จะโดนหุ่นยนต์และ AI แย่งงานได้นะจ๊ะ
อ.เพชร ขึ้นเวทีกล่าวต้อนรับสื่อที่มาร่วมงาน แล้วก็พูดถึงภาพรวมของ ม.กรุงเทพ ที่กำลังจะอัพเกรดขึ้นเรื่องการนำเอา Technology มาผสมกับ Creativity ที่เป็นแกนกลางของมหาวิทยาลัยมาโดยตลอดและจะไม่เปลี่ยนแปลง เพราะความคิดสร้างสรรค์ เอาไปรวมกับอะไรก็จะยิ่งพัฒนามากขึ้น
อ.เพชร โอสถานุเคราะห์
“ในยุคนี้ เราต้องรู้จักเทคโนโลยี และเรียนรู้ที่จะเป็นนายเทคโนโลยี เพราะ สิ่งที่ AI ไม่มีวันเหนือกว่าเรา คือ ความคิดสร้างสรรค์ ความเข้าใจโลก และ วิสัยทัศน์ เราต้องมีสิ่งเหล่านี้”
อูยยย นั่งอยู่ข้างหลัง อ.เพชร ในงาน แอบกริ๊ดอยากเดินไปขอลายเซ็น รู้งี้น่าจะพกเทปที่ฟังตอนเด็กๆมาให้ อ.เพชรเซ็นปกให้ซักหน่อย
เอาล่ะ เข้าประเด็นเรื่อง ทำไมผมถึงอยากจะกลับมาเป็นนักเรียนอีกครั้ง เริ่มจากท่านนี้เลยครับ
ดร. กล่าวว่า มหาวิทยาลัยต้องเตรียมความพร้อมให้เหล่าเด็กๆที่เข้ามาเรียน ปรับตัวให้ทันกับความเร็วของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเร็วมากขึ้นทุกวัน เข้ามาปีหนึ่ง เรียนภาษาโปรแกรมมิ่งตัวนึง พอจบปีสี่ ภาษาโปรแกรมมิ่งตัวนั้นอาจจะตกยุคไม่มีคนเขียนแล้วก็ได้ (โอ้โห โคตรจริง ตอนนี้โปรแกรมเมอร์หลายคนเขียนภาษาเดียวไม่ได้ แล้ว เดี๋ยวนี้ต้องไป Full stack , Angular , Node.js , Python แล้วก็อีกสารพัดภาษา ที่งอกขึ้นมาในเวลาไม่กี่ปี)
แล้วเทคโนโลยีจำนวนมากที่ตอนนี้กำลังฟักไข่ รอเวลาที่จะทะยานออกมาเป็นนกฟินิกส์หลายๆตัว เช่น AI , Machine Learning , 5G อีกมากมายก็กำลังตามมา ไม่ใช่ว่า ต้องเป็นเด็กคณะวิศวกรรม หรือ เทคโนโลยีสารสนเทศเท่านั้น ที่จะต้องเรียนแล้ว เด็กๆทุกคณะจำเป็นที่จะต้องรู้เทคโนโลยี
ว่าแล้ว ดร. ก็เปิดวีดีโอของ Google ที่โชว์ความเทพของ Google Assistant เมื่อปี 2018 ให้ดูว่า เทคโนโลยีพวกนี้หลายๆคนอาจจะมองว่า เด็กที่ต้องเรียนเรื่องนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเด็กคณะวิศวกรรมอีกต่อไป แต่ สายการโรงแรม การท่องเที่ยว การจัดการ และอื่นๆ จำเป็นต้องเข้าใจเรื่องพวกนี้
จากนั้น ดร. ก็โชว์วีดีโออีกตัวนึงครับ เป็นเรื่อง Robotic Process Automation (RPA) ลองคลิก Link เข้าไปดู เป็นวีดีโอโชว์ความเทพของ Fujitsu ที่ไม่อนุญาตให้เราเอามา Embed กับเว็บนี้นะครับ เสียดายจริง
แต่มันคือระบบ AI + Machine Learning ที่ให้เราสั่งสอนบอทตัวนึง ที่เหมือนโปรแกรมที่รันใน Windows .. แล้วเราค่อยๆสอนงานมัน เช่นงานออก Invoice … โดยที่ในวีดีโอ บอกว่า สมมติถ้าเป็นงานทำเอกสาร ที่อ่านค่าจาก Excel แล้วเอาไปกรอกเป็น Invoice เพื่อส่งใบเรียกเก็บเงินให้ลูกค้า ถ้าใช้คนทำ 1 งานจะใช้เวลา 15 นาทีกับอีก 5 วินาที แถมยังพิมพ์ผิดอีก 2 ที่ แต่ถ้าเป็น RPA ใช้เวลาแค่ 16 วินาที แถมยังไม่ผิดเลยด้วย
แม่เจ้า พอดูวีดีโอนี้เสร็จ ชิปหายแล้วว เลขาและบัญชี อาจจะมีตกงานกันเพิ่มอีกบานตะเกียงจ้า เพราะค่าตัวเจ้า RPA นี่ถูกมากเมื่อเทียบกับการจ้างพนักงานมานั่งคีย์ข้อมูล
ทำงาน 27 x 7 ไม่บ่น ไม่ขอขึ้นเงินเดือน ไม่ขอลาหยุด ราคาค่าตัวประมาณ 70,000 – 80,000 บาทเท่านั้นเอง ซื้อครั้งเดียวจบ ขายมา 2 ปีกว่าแล้วด้วย
ซึ่งทาง IBM เปิดเผยข้อมูลว่าในอนาคต พวก RPA แบบนี้จะมาทดแทนคนทำงานได้ถึง 45% ในงานด้านธุรกิจ ถ้ามหาวิทยาลัยยังสอนเด็กแบบเดิมอยู่ เด็กได้ตกงานหมดแน่ แต่ถ้าเกิดเรามีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นงานที่พวก AI ไม่สามารถทำได้ ก็จะเป็นช่องทางสำคัญสำหรับนักศึกษาในอนาคตสำหรับอีก 55% ที่เหลือในตลาด
ถัดมาก็ทาง ผศ.สรรเสริญ ก็ขึ้นมาบอกเล่าถึงหลักสูตรใหม่ที่ทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพกำลังจะเปิดตัว โดยที่ ดึงเอาทักษะด้านเทคโนโลยีในอนาคตที่จำเป็นจะต้องมีทั้งหมด 10 อย่างด้วยกันได้แก่
- Internet of things
- Blockchain
- Mobile App
- UX / UI
- 5G
- AR / VR
- Coding
- AI
- Cloud Services
- Big Data / Data Analytics
ซึ่งทั้ง 10 หัวข้อนี้ จะถูกแบ่งเป็น 3 ระดับ
ซึ่งระดับแรกจะเรียกว่า Digital Competency จะเป็นการเอาความรู้พื้นฐานทั้ง 10 หัวข้อแบบเบาๆ ไปเพิ่มในวิชา General Education ที่นักศึกษาปีหนึ่ง ทุกคณะ จำต้องเรียนเป็นพื้นฐาน
และการเรียนรู้วิชา General Education จะไม่ใช่แค่การนั่งฟังบรรยาย แต่ต้องทำ Project ร่วมกันระหว่างคณะ
จากนั้นในระดับที่สองที่เข้มข้นขึ้นมาเรียกว่า Advenced Digital Competency in Specific Field แต่ละคณะจะหยิบเอาทั้ง 10 หัวข้อในเรื่องของ Technology ที่กล่าวไปข้างบน มาผสานกับเนื้อหาหลักสูตรของคณะเพื่อให้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก
เช่น สาขาวิชานิเทศศาสตร์จะนำเอาเทคโนโลยีของ AR /VR ไปสร้างสื่อแบบใหม่ หรือ หลักสูตร Chef ที่จะต้องเปิดร้านอาหาร จะมีความรู้เรื่องของ Big Data หรือ Data Analytics เพื่อไปวิเคราะห์ลูกค้าที่มาทานอาหารที่ร้าน เพื่อสร้างความประทับใจให้ผู้บริโภคแต่ละคน
หรือสาชาเศรษฐศาสตร์ จะต้องนำเอาเรื่องของ UX / UI ไปปรับใช้กับการออกแบบระบบการบริการทางด้านการเงินให้ผู้บริโภคใช้บริการได้อย่างสะดวกและรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น
เออ ฟังดูแล้วก็จริงแฮะ ทุกๆสาขา มันต้องเอาเทคโนโลยีมาเสริมในระดับนี้ทั้งนั้นเลย
และใน Level 3 ที่เป็น Level สุดท้าย หรือ Digital Professional จะเป็นเนื้อหาแบบลงลึกสำหรับหลักสูตรแต่ละคณะที่เป็นเทคโนโลยีโดยตรงเช่น คณะวิศวะสาขาคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์, คณะไอที สาขาเกมและสื่อเชิงโต้ตอบ,รวมไปถึงคณะด้านมีเดีย อย่าง หลักสูตร Innovative Media Production และ อื่นๆ
ซึ่งทาง ผศ.ดร.ปกรณ์ ก็ได้นำเอาตัวอย่างโครงงานของนักศึกษาที่ตอนนี้พัฒนาอยู่มาให้ดูกันครับ
โครงการแรกคือ Self Navigating Robot เป็นหุ่นยนต์ที่อ่านข้อมูลจากเรดาร์แล้วค้นหาเส้นทางไปยังจุดหมาย ถึงแม้ว่ามีสิ่งกีดขวางก็ยังสามารถที่จะหลบหลีกเพื่อเดินทางต่อไปได้
อีกตัวอย่างนึงก็คือ Human Robot Interaction เป็นการสั่งการหุ่นยนต์ด้วยเซนเซอร์ที่วัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ เมื่อเราชี้ไปข้างหน้า หุ่นยนต์ก็จะเดินไปข้างหน้า ถ้าพลิกแขนไปทางซ้ายหรือขวาก็จะเลี้ยว และถ้าหักมือกลับมาก็จะถอยหลัง
ถึงแม้ว่าในตัวอย่างจะเป็นแค่การสั่งการหุ่นยนต์เคลื่นไหวง่ายๆ แต่ถ้าพัฒนาให้มากกว่านี้ สามารถนำไปช่วยเหลือผู้พิการให้สามารถสั่งคำสั่งบางอย่างได้โดยที่ไม่ต้องสั่งด้วยเสียงหรือขยับร่างกายมากๆก็ได้ครับ
ซึ่งถ้าขั้นสุดเลย ก็สามารถใช้คลื่นสมองสั่งการก็ได้
ตัวอย่างถัดมา ก็คือ Learn to Move เป็นการจำลอง Model ของหุ่นยนต์ในการเคลื่อนไหวตามมุม และ องศาต่างๆ ใน Simulation เพื่อให้แน่ใจว่าขยับได้อย่างที่ต้องการจริงๆ แล้วจึงนำข้อมูลไปใส่ในหุ่นยนต์จริงๆ เพื่อป้องกันความเสียหาย ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสร้างหุ่นยนต์อัตโนมัติเลยทีเดียวครับ
ตัวอย่างถัดมา คือ AI Control Game … เป็น การทำ Machine Learning เพื่อสอนคอมพิวเตอร์ให้เรียนรู้ด้วยการจดจำท่าทางของผู้ใช้ แล้วกลายเป็นคำสั่งไปสั่งสิ่งต่างๆรอบตัวเรา โดยในตัวอย่าง จะแทนด้วยการควบคุมเกม ถ้าเรายกมือขวา จะขยับตัว Block ไปทางขวา ซึ่งถ้าเป็นการสอนด้วย Machine Learning เนี่ย ไม่ว่าจะยกมือ ยกนิ้ว ยกมือทั้งแขน ยกมือแค่มือ ก็จะค่อยๆเป็นการสอน AI ให้เข้าใจว่า ให้ขยับ Block ไปทางขวาทั้งนั้น ซึ่งยิ่งสอนมันมากเท่าไหร่ ตัว AI ก็จะยิ่งทำงานได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้นเท่านั้นครับ
นอกจากนี้ทาง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพยังได้รับเลือกจาก สพฐ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้สอน บรรดาอาจารย์จากโรงเรียนกว่า 500 โรงเรียนในหัวข้อ ปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งบรรดาอาจารย์จะนำไปสอนนักเรียนชั้นมัธยมปลายอีกทีหนึ่ง
และ อาจารย์ปกรณ์ ก็ปิดท้ายด้วยความโคตรเท่คือ Engineering ที่อยู่เบื้องหลัง Creativity นั้นออกมาเป็นเจ้า Kinetic Ball ที่เป็นเหมือนลูกบอลประดับ แต่ขยับด้วยเทคนิคด้านวิศวกรรมออกมาอย่างสวยงามบนเวทีนี่เองครับ
ปิดท้ายด้วย Video Promote ความเป็น Creativity + Technology ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพเลยครับ โอ้โห คนเหล็กภาคสอง รวมร่างกับ โปเกมอนมากๆ โคตรเท่
สรุปก็คือ หลักสูตรใหม่ ที่ไม่เน้นการนั่งบรรยาย แต่เป็นการทำงานร่วมมือกันทุกคณะ ภายใต้เทคโนโลยีทั้ง 10 อย่างที่จะสอนตั้งแต่พื้นฐาน และขยี้ไปถึงระดับโปร ตั้งแต่ปีหนึ่งไปจนถึงปีสี่ ฟังบรรยายจบน้ำตาไหลพราก ทำไมตอนผมเรียนเมื่อยี่สิบปีก่อน ไม่เห็นมีอย่างงี้บ้าง T_T