Home -> Blog -> Big Data คลังสมบัติด้านข้อมูลสำหรับนักธุรกิจยุคใหม่

Big Data คลังสมบัติด้านข้อมูลสำหรับนักธุรกิจยุคใหม่

ไปเจองานวิจัยของ IBM ปีนี้ เป็นหัวข้อที่น่าสนใจดี  เป็นเรื่องของกระบวนการในการนำเอา Big Data มาวิเคราะห์แล้วสร้างเป็น Solution ต่างๆเพื่อพัฒนาธุรกิจใหม่ๆได้ ผมลองอ่านดูเจอเรื่องน่าสนใจเยอะเลย เลยเอามาเรียบเรียง พร้อมกับแปลไทยให้อ่านกันครับ

Big Data คืออะไร

Big Data แปลเป็นภาษาไทยว่า อภิมหาข้อมูล ซึ่งถ้าเราแปลตรงๆตัวเลย มันก็คือ ข้อมูลที่มากมายมหาศาลนั่นเอง (จะแปลทำไมฟระ) โดยที่เมื่อเราพูดถึงข้อมูลเนี่ย ถ้าคนที่ไม่ได้ทำงานด้านนี้ คงนึกไม่ออกว่ามันหน้าตาเป็นยังไง หรือใช้ทำอะไรใช่ไหมครับ  จริงๆแล้วมันก็คือตัวเลขเชิงสถิติ ที่จะต้องทำการเก็บรวบรวมมาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง แล้วนำมาวิเคราะห์ว่า “ด้วยข้อมูลเหล่านี้ มันหมายถึงมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง” นั่นเองครับ

เอาง่ายๆ อย่างในโรงงานซักโรงงานนึง .. เราอาจจะต้องทำการวิเคราะห์ ต้นทุนวัตถุดิบ เพื่อที่จะรู้ได้ว่า จะต้องขายของในราคาเท่าไหร่ ถึงจะไม่ขาดทุนนั่นเอง แต่ด้วยการมาของ Big Data เนี่ย มันทำให้ทั้งการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาผลลัพท์ในแง่มุมต่างๆมันไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปครับ แถมข้อมูลมันเข้ามาเยอะมาก ในขณะที่ยังประมวลผลของวันนี้ไม่เสร็จเลย พรุ่งนี้ข้อมูลใหม่มันก็วิ่งมาเพิ่มอีกแล้วเลยทำให้องค์กรที่ต้องขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเป็นหลักเนี่ย ทำงานได้ยากมาก ยกตัวอย่างเช่นสถาบันการเงิน ตลาดหุ้น หรือ งานวิจัยด้านสภาพอากาศ พวกนี้จะมีข้อมูลให้วิเคราะห์กันแบบเยอะสุดๆไปเลยครับ องค์กรเหล่านี้ก็เลยต้องใช้คอมพิวเตอร์ระดับใหญ่มาก ที่เรียกว่า Super Computer ในการช่วยประมวลผลข้อมูลเหล่านั้นเพื่อที่จะทำงานให้ได้ประสิทธิภาพที่สูงที่สุดนั่นเองครับ

home_35

ทีนี้เรื่อง Big Data แต่มันมีความสำคัญมากขึ้นตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมาเนี่ยแหละครับ เพราะว่าทุกวันนี้ คนเรา + โทรศัพท์มือถือ + เครือข่ายสังคมออนไลน์นี่แหละ คือ เครื่องสร้างข้อมูลอย่างดีเลยทีเดียว มีการคำนวนมาว่า ในช่วงปี 2012 ที่ผ่านมา มีข้อมูลเกิดใหม่วันละ 2.5 Exabyte ครับ  (ถ้านึกไม่ออก .. 1 Exabyte ก็เท่ากับ HDD ขนาด 1 Terabyte เป็นจำนวน 1,048,576 ลูกครับ ) เอาล่ะสิอยู่ดีๆ มีข้อมูลที่เกิดจากผู้ใช้งานทั้งโลกร่วมด้วยช่วยกันสร้างมหาศาลขนาดนี้ แล้วเราจะสามารถจัดการกับข้อมูลมหาศาลระดับนี้ได้ยังไง เพราะการจัดการข้อมูลที่ดี มันจะต้องมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ครับ ได้แก่ การจับข้อมูล (capture), การเก็บข้อมูล, การค้นหาข้อมูล, การแบ่งปันข้อมูล, การวิเคราะห์ ข้อมูล และ visualization เพื่อให้เข้าใจง่าย

SNAG-0000

ข้อมูลเหล่านี้ถือเป็นทรัพยากรธรรมชาติแบบนึง ที่ตอนนี้หลายๆธุรกิจกำลังให้ความสนใจอย่างมาก ซึ่งทาง IDC ซึ่งเป็นบริษัทรับทำวิจัยรายใหญ่ของโลกก็วิเคราะห์มาว่า ในช่วงปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นบริการ เทคโนโลยี อุปกรณ์ หรืออะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับ Big Data จะกลายเป็นตลาดใหญ่ที่มีมูลค่าขนาด 16,900 ล้านดอลล่าร์เลยทีเดียว

http://www.youtube.com/watch?v=LGsq7kHjdhI&feature=youtu.be

ทีนี้การจะนำเอาข้อมูล Big Data เหล่านี้มาใช้ได้ จะต้องมี 2 ปัจจัยในการช่วยเหลือ อย่างแรกก็คือ พลังของ Cloud Computing ที่จะใช้ในการจัดเก็บ แยกแยะ แล้วก็วิเคราะห์มันออกมา โดยที่นอกเหนือจาก Hardware แล้ว ยังต้องมี Software ในการจัดการที่เหมาะสมด้วย และอีกหนึ่งปัจจัยก็คือ Data Scientist หรือ นักวิเคราะห์ข้อมูลครับ ซึ่งสำหรับธุรกิจและองค์กรใหม่ๆที่จะต้องปรับตัวให้ทันกับเรื่องนี้ ผู้บริหารระดับนโยบายจะต้องให้ นักวิเคราะห์ข้อมูลทำคัดแยกข้อมูลประเภทนี้ออกมาให้ โดยที่ทาง Gartner (บริษัทวิจัยอีกแล้ว) ก็ออกมาบอกว่า ในอีก 3 ปีข้างหน้า โลกจะมีความต้องการตำแหน่งนักวิเคราะห์ข้อมูลนี้เพิ่มถึง 4.4 ล้านคนเลยทีเดียว (โอ ใครที่ยังนึกไม่ออกว่าจะเรียนอะไร ก็ลองเรียนเรื่องการทำ Data Analysis นะครับ อีก 3 ปี มีงานแน่นอน)

ทีนี้เมื่อเราสกัดเอา Data แบบ Insight มาได้แล้ว จะเกิดประโยชน์อะไรกับเรา หรือ ผู้บริหารองค์กรทั้งหลายบ้าง

  1. การทำ Data Analysis จะช่วยกำหนดทิศทางขององค์กร หรือ กลยุทธที่เหมาะสมได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณดึงข้อมูลการ checkin ของผู้คนออกมาแล้วพบว่า มีการเช็คอินบริเวณที่ใดที่นึงสูงขึ้นมาก ตรงนี้ก็อาจจะช่วยตัดสินใจในการเลือกทำเลการเปิดร้านอาหารสาขาใหม่ของคุณก็ได้ครับ
  2. การวิเคราะห์และการกำหนดทิศทางที่ถูกต้องจะช่วยให้ องค์กรเพิ่มประสิทธิผลของกิจกรรมทางการตลาดมากขึ้น เช่น การดึงลูกค้าใหม่ การรักษาฐานลูกค้าเดิม รวมทั้่งช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากรขององค์กรด้วย
  3. ข้อมูลที่ได้มาอาจจะช่วยแก้ไขปัญหาเดิมที่แก้ไม่ตกในองค์กร เช่น เดิมทีผู้บริหารหรือ ผู้จัดการสาขาอาจจะต้องนั่งเทียนแก้ปัญหา เพราะไม่มีข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจ แต่การที่มีนักวิเคราะห์ข้อมูลคอยสกัดข้อมูลออกมาประมวลผลให้ ก็อาจจะทำให้การตัดสินใจที่จะทำอะไร มีข้อมูลสนับสนุนมากขึ้น

คลัง Big Data ที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็คือ Social Network ซึ่ทาง IBM เค้าก็มี Case Study จากหลายๆที่ ที่มีการนำเอา Solution ในการจัดการ Big Data บนโลก Social Network ไปใช้แล้วก็ประสบผลสำเร็จครับ
http://www.youtube.com/watch?v=YZA20c47fA8

CEMEX เป็นบริษัทวัสดุก่อสร้างอันดับ 3 ของโลกครับ มีสาขาอยู่ 50 ประเทศทั่วโลก และมีพนักงานอยู่ทั่วโลกประมาณ 47,000 คน .. ทางผู้บริหารเล็งเห็นว่า การที่จะสื่อสารไปหาพนักงานทุกๆคนในองค์กรมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แถมยังมีค่าใช้จ่ายมหาศาล ดังนั้นทางผู้บริหารคนนึง ก็คือคุณ Gilberto Garcia ที่เป็น Innovation Director แกก็เลยเกิดไอเดียว่า งั้นเรามาสร้าง Social Network ในองค์กรใช้กันดีกว่า เพราะพนักงานในองค์กรก็คุ้นเคยกับการใช้ Social Network อยู่แล้ว

แต่!  มันไม่ใช่แค่เปิด Facebook Group ในองค์กรแล้วจบนะครับ เพราะมันเป็นเครือข่าย Social Network ของการทำงาน มันเลยจะต้องรวมทั้ง ความง่าย และ ความปลอดภัยในการเข้าใช้งานเข้าไปด้วย

ก็เลยกลายเป็นว่าใช้เทคโนโลยีของ IBM ที่ชื่อ Lotus Collaboration ในการสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ตัวนี้  ไปๆมาๆ ก็มี Group ของพนักงานกว่า 400 กลุ่มที่เติบโตขึ้นเองแบบไม่ได้ไปสั่งอะไร เชื่อมพนักงานกว่า 17,000 คนทั่วโลก ทีนี้ พอบริษัทมีสินค้า หรือมี Training ใหม่ๆ ที่จะต้องเปิดตัวทั่วโลก ก็ไม่มีอะไรมาก แค่โยนเข้าไปใน Social Network ของบริษัท แล้วที่เหลือก็กระจายข่าวกันเอง ทำให้ลดระยะเวลาในการกระจายข้อมูลเหลือแค่ 1/3 ของปกติ แถมยังลดค่าใช้จ่ายด้านโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ที่จะต้องใช้ในการโทรไปบอกสาขาอืนๆถึงปีละ 1,000,000 $ เลยทีเดียว

http://www.youtube.com/watch?v=snZPevfRuus

อีกเจ้าเป็น ผลงานจาก มหาวิทยาลัยบารี่ ในประเทศอิตาลี ซึ่งได้จับมือกับทาง IBM ในการใช้ Cloud Computing สร้างตลาดใหม่ขึ้นมาจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จาก Big Data ครับ

โดยที่ปัญหาก็คือ ชาวประมงที่อยู่ที่เมืองบารี่ ในอิตาลีเนี่ย เวลาที่เรือออกหาปลาทีนึง ชาวประมงเหล่านี้ก็ไม่รู้จะต้องจับปลามาซักเท่าไหร่ ถึงจะพอขายที่ตลาด ก็เลยจับปลามาซะล้นเรือ ปลาในทะเลก็เหลือน้อย พอจับกลับมาเยอะ ก็ขายได้ไม่หมด ไปๆมาๆ ก็ต้องลดราคาปลาลง หรือต้องทิ้งกันโดยไม่จำเป็น ทางทีมมหาวิทยาลัยบารี่ ก็เลยเสนอตัวเข้ามาช่วยเหลือ ด้วยการทำระบบ วิเคราะห์ปริมาณปลาที่จับได้บนเรือขณะออกหาปลา แบบเรียลไทม์!! โดยที่ชาวประมงจะรู้ทันทีเลยว่า ตอนนี้เรือเข้ามีปลาอะไร นัำหนักเท่าไหร่

และจากนั้น IBM ก็ได้ทำระบบ Virtual Market หรือตลาดซื้อปลาจำลอง จากโดยชาวประมง สามารถขายปลาได้จากในเรือขณะจับได้เลย เรียกได้ว่า จับปลามาพอดี กับคำสังซื้อ พอเข้าฝั่งมา ราคาปลาก็ดี ไม่มีปลาเหลือทิ้ง แถมยังไม่เป็นการทำลายธรรมชาติผ่านการจับปลาแบบบ้าพลังอีกด้วย ผมขอปรบมือให้โครงการนี้เลยครับ อยากให้เอามาใช้กับบ้านเราบ้างจัง

http://www.youtube.com/watch?v=dyXuheNcJDs
ข้ามมาที่ประเทศแคนาดากับสายการบินที่ใหญ่มากเจ้านึงทางฝั่งอเมริกาเหนือ นั่นก็คือ Air Canada ครับ ซึ่งทาง Air Canada มีเที่ยวบินวันละ 1,400 Flight ต้องพาผู้โดยสารกว่า 32 ล้านคนต่อปี บินไป บินมาทั้งจากสหรัฐอเมริกา ไปยังอีก 5 ทวีปทั่วโลก

โดยที่ความต้องการของทาง Air Canada ก็คือ ต้องการจะให้บริการแบบ self services ให้กับบรรดาผู้โดยสาร เพื่อลดภาระของพนักงานบน Ground โดยที่ก็ได้ร่วมมือกับทาง IBM ในการสร้าง Solution เฉพาะทางมาให้

V4HttpAssetRepositoryClient-mzl.cdluqdah.png-2375966144925142918.320x480-75

โดยที่ผุ้โดยสารสามารถที่จะโหลด App บนโทรศัพท์มือถือที่ชื่อว่า Air Canada โดยที่ตัว App นี้ สามารถใช้ตรวจสอบเที่ยวบิน จองตั๋ว เช็คอิน เลือกที่นั่งได้โดยตรงจากโทรศัพท์มือถือ ที่สำคัญ App นี้ยังโคตรเทพด้วยการที่มันเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อกับระบบ In-Flight Entertainment ในเครื่องอีกด้วย ซึ่งถ้าใครที่บินบ่อยๆจะรู้ดีว่า เวลาเราบินระยะสั้นๆ เครื่องที่เราบินจะเป็นเครื่องเล็กๆแล้วก็ไม่มีอะไรให้ทำมากไปกว่าการนั่งเฉยๆ เพราะจะให้ลงระบบ In-flight Entertainment กับเครื่องบินทุกลำมันก็โคตรแพงเกินครับ ซึ่งทาง Air Canada ก็โคตรฉลาดมาดๆครับ แค่เพิ่มระบบ Wifi เข้าไปบนเครื่อง แล้วให้แต่ละคนใช้มือถือเชื่อมเข้ามาตรงนี้ ก็สามารถที่จะมี เพลง หนัง ที่ให้บริการจากเครื่องบินไว้ดูกันแล้ว โคตรแจ๋วเลยครับ

นอกเหนือจากจะทำ App ไว้ใช้งานแล้ว ผู้โดยสารที่ไม่มี App ก็สามารถใช้เครื่อง Kiosk ของสายการบินในการ Checkin หรือตรวจสอบข้อมูลต่างๆได้เช่นเดียวกัน ซึ่งผลของการทำระบบนี้ ทำให้ทาง Air Canada เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุนได้ถึง 80% และลดเวลาในการบริการลูกค้าลงถึง 50% ครับ

http://www.youtube.com/watch?v=7mT7pIM_aNk

มาดูตัวอย่างของประเทศไทยบ้างนะครับ อันนี้เป็น รพ กรุงเทพครับ ที่มีสาขาอยู่ทั่วประเทศไทยทั้งหมด 29 แห่ง ซึ่งทาง รพ ก็ได้ใช้ระบบ HIS (Hospital Information System) ของทาง IBM ในการเชื่อมโยงระบบเวชระเบียนของทั้ง 29 แห่งนั้นครับ ซึ่งผลที่ได้ก็คือ ข้อมูลของผู้ป่วยทั้งหมด จะถูกจัดเก็บ และสามารถดึงไปใช้งานได้จาก 29 สาขา ดังนั้นไม่ว่าผู้ป่วยจะเข้ามารักษาที่ รพ กรุงเทพสาขาไหนก็จะมีประวัติตัวเองตามไปด้วยตลอดเวลาครับ

ส่วนทางฝั่งผู้บริหารโรงพยาบาล ก็สามารถ ดูข้อมูลของผู้ป่วยทั้งหมดได้ ทำให้สามารถประเมินได้ว่า ปัจจุบัน มีผู้ป่วยเข้ามารักษที่โรงพยาบาลด้วยอาการอะไรมากที่สุด จะได้สามารถรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันได้ทัน รวมไปถึงสามารถออกบริการใหม่ๆ หรือ โปรโมชั่นต่างๆ เพื่อขยายรูปแบบธุรกิจของโรงพยาบาลได้อีกด้วยครับ

 SNAG-0001

ปิดท้ายด้วย Infographic จากทาง IBM ว่าด้วยเรื่องของการติดต่อลูกค้า ด้วยช่องทางไหน ถึงจะพึงพอใจมากที่สุด โดยที่ แถบสีเหลืองคือยุคปัจจุบัน และแถมสีแดงคือในอีก 3-5 ปีข้างหน้า เห็นกันชัดๆเลยว่า ช่องทางเก่าๆแบบ Traditional Media เช่น แผ่นใบปลิว หรือสื่อเก่าๆจะลดลงถึง 61% ในขณะที่ ช่องทางแบบ Face to Face หรือ Social Network เติบโตขึ้นอย่างมากเลยทีเดียว

สำหรับนักธุรกิจที่กำลังจะสร้างธุรกิจใหม่ อย่าลืมไปคุ้ยข้อมูลใน Big Data แล้วเอามาวิเคราะห์ รับรองคุณจะเจออะไรดีๆหลายอย่างเลยครับ

ใครสนใจ Case Study เจ๋งๆของ IBM สำหรับผู้บริการยุคใหม่ ดูรายละเอียดทาง Link ข้างล่างได้เลยนะครับ

– New era of computing and Smarter Planet >> http://www.ibm.com/smarterplanet/th/en/

– Social business, analytics, mobility and cloud computing >>http://www.thinglink.com/ibmthailand

– IBM Thailand Facebook >> https://www.facebook.com/IBMThailand

 

Check Also

การเรียนรู้รูปแบบใหม่ของ ม.กรุงเทพ ที่ทำให้อยากกลับไปเป็นนักเรียนอีกครั้ง

นี่คือความรู้สึกของผมจริงๆ ตอนที่นั่งฟังอยู่ในงานแถลงข่าวเปิดตัวหลักสูตรใหม่ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เมื่อวันอังคารที่ 18 มิถุนายน 2019 ที่ผ่านมานี่แหละ ต้องเล่าให้ฟังก่อน ที่ ม.กรุงเทพเนี่ย เป็นมหาวิทยาลัยที่จะใช้ Creativity หรือความคิดสร้างสรรค์ เป็นแกนกลางแล้วนำไปผสานกับเทรนด์อื่นๆของโลก เพื่อสร้างเป็นหลักสูตร …

14 comments

Leave a Reply