Home -> Blog -> เล่าประสบการณ์ การไปซื้อเครื่องทำน้ำอุ่น Panasonic E-Shower

เล่าประสบการณ์ การไปซื้อเครื่องทำน้ำอุ่น Panasonic E-Shower

ทุกทีเป็นคนที่สามารถแนะนำเรื่องของ มือถือ คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค หรือ Gadget IT ให้คนอื่นได้อย่างสบายๆ แต่มาตายสนิทเมื่อต้องมาเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นเองครับ ที่ต้องไปซื้อเองก็ไม่มีอะไรมาก แต่เครื่องทำน้ำอุ่นที่คอนโดมันพังนั่นเองครับ เลยต้องหามาเปลี่ยน

เท่าที่ลอง Post สอบถามใน Facebook กับ Twitter มา ก็พบว่ายี่ห้อที่คนแนะนำก็คือ Panasonic ก็เลยไปด้อมๆมองๆที่ HomePro เพื่อหาซื้อซักรุ่นกลับมาเปลี่ยนครับ แต่ทว่าเมื่อเดินไปถึงบูทเครื่องทำน้ำอุ่น ปรากฏว่า

IMG_1365

โอ้แม่เจ้า เยอะชะมัด ชักเข้าใจความรู้สึกของคนที่ไปยืนงงหน้าร้านขายมือถือแล้วล่ะครับ ว่ารู้สึก งง ขนาดไหนเวลามาเจอเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ตัวเองไม่รู้จักกองรวมๆกันแบบนี้

IMG_1362

 

สุดท้ายก็เลือก สอบถามพนักงานของ HomePro ครับ ซึ่งก็ให้ข้อมูลได้ดีมากๆ ผมได้ให้ requirement เล็กน้อยสำหรับ เครื่องทำน้ำอุ่นที่ผมอยากได้ไป ก็คือ

  • งบประมาณไม่เกิน 4,000
  • กำลัง Watt ไม่ต้องเยอะมาก เพราะไม่ได้จะเอามาต้มน้ำอะไรอยู่แล้ว
  • มีระบบตัดกระแสไฟที่ดีมากๆ (กลัวยืนตัวเย็นทั้งๆที่กำลังอาบน้ำอุ่นอยู่นี่สิ)
  • ทนทาน กันน้ำ กันฝุ่นระดับนึง (สาเหตุที่ต้องเลือกกันฝุ่นก็เพราะว่า จุดติดตั้งเครื่องทำน้ำร้อนของคอนโดผมมันไม่ได้อยู่ในห้องอาบน้ำครับ แต่มันอยู่ในห้องครัว เพราะคอนโดผมสามารถดึงเอาน้ำอุ่นไปใช้ส่วนไหนของบ้านก็ได้ เช่นห้องครัว ห้องน้ำเล็ก หรือ ก็อกน้ำทั่วไปครับ ซึ่งจุดติดตั้งในห้องครัวมันอยู่ใต้ฝ้า ที่มีฝุ่นจับอยู่ระดับนึง
  • ประกันที่ยาวนานพอรับได้

ซึ่งด้วยข้อกำหนดดังต่อไปนี้ ทางพนักงานก็เลยเลือกรุ่นนี้มาให้ครับ

IMG_1372

 

Panasonic DH-3LS1 ครับ งบประมาณค่าตัวที่ HomePro ราคา 3,5xx บาท ความสามารถก็คือ

  • กำลังไฟฟ้า 3,500 watt
  • ปรับแรงดันน้ำด้วย Power Control
  • หัวฝักบัวเคลือบสาร AG+ ป้องกันแบคทีเรีย
  • ระบบป้องกันไฟรั่ว ELB (Earth Leakage Breaker) จะตัดไฟแบบอัตโนมัติทันทีที่ ไฟฟ้ารั่วเพียงแค่ 15 มิลลิแอมแปร์ภายในเวลา 0.05 วินาที (ไอ้นี่แหละที่ต้องมี)
  • มี Lead Sensor ที่จะตัดการทำงานของตัวทำความร้อนทันที ที่แรงดันน้ำต่ำกว่าที่กำหนด เพื่อป้องกันการอาบน้ำอยู่แล้วน้ำเบา กลายเป็นโดนน้ำร้อนลวกซะงั้น
  • Auto Thermal cut-off เป็นตัวควบคุมอุณหภูมิน้ำตรงท่อน้ำออก จะตัดกระแสไฟอัตโนมัติทันทีที่อุณหภูมิน้ำร้อนผิดปกติ
  • Manual Reset Thermal เป็นตัวควบคุมอุณหภูมิน้ำที่ตัวทำความร้อน จะตัดกระแสไฟทันที ที่น้ำร้อนสูงผิดปกติ
  • หม้อต้มเป็น Reinforced Polyamide Heater และ ทองแดง ทนความร้อนสุดๆ เผื่อคุณอยากจะแช่น้ำอุ่นนานๆ ซึ่งผมทำบ่อยมากๆตอนคิดงานไม่ออก ก็นอนแช่มันไปเรื่อยๆ โคตรเปลืองน้ำเลยล่ะครับ ไม่แนะนำนะ อิอิ
  • ปุ่ม Micro Switch แบบทนทานพิเศษและแม่นยำ (เค้าว่างั้นนะ) กดปุ๊บเครื่องหยุดการทำงานปั๊บ และทนทานรองรับการกดได้หลายพันครั้ง (ซึ่งเดี๋ยวก็คงได้ทดสอบในการใช้จริงนี่แหละ)
  • มีแผงกันน้ำเข้าเครื่องและไม่ให้ชิ้นส่วนภายในสัมผัสน้ำเพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ตามมาตรฐาน IP25 (เดี๋ยวจะอธิบายเรื่องมาตรฐาน IP แยกอีกทีนะครับ)
  • ตัวเครื่องทำจาก พลาสติก ABS เกรด VO ตามมาตรฐาน UL94 เพื่อป้องกันการลุกลามของไฟ เวลาเกิดไฟไหม้ ซึ่งไอ้นี่ก็สำคัญนะครับ เพราะอุปกรณ์อะไรที่ทำความร้อนได้ ก็มีความเสี่ยงที่จะไฟไหม้ ถ้ามีการป้องกันเรื่องนี้ ก็อาจจะลดความเสียหายลงไปได้
  • มีฉนวนกันไฟฟ้ารั่ว บริเวณตัวทำความร้อนและจุดเชื่อมต่อต่างๆ

และสำหรับ มาตรฐาน IP คืออะไร มันย่อมาจาก Ingress Protection Ratings เป็นมาตรฐานที่ใช้วัดความสามารถในการปกป้องสิ่งที่อยู่ภายในของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ครับ  มาตรฐาน นี้ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย European Committee for Electro Technical Standardization (CENELEC) (NEMA IEC 60529 Degrees of Protection Provided by Enclosures – IP Code) ซึ่งการจัดอันดับของการป้องกันจะแสดงด้วยตัวเลข 2 หลัก ซึ่งหลักแรกจะแแสดงความสามารถในการป้องกันของแข็ง และหลักที่สองจะเป็นความสามารถในการป้องกันของเหลว รูปแบบการแสดงมาตรฐานจะเป็น IPXX ซึ่ง XX คือ เช่น IP45, IP66 เป็นต้น

ความหมายของตัวเลขหลักแรก

0 = ไม่ป้องกันอะไรเลย
1 = สามารถป้องกันของแข็งที่มีขนาดไม่เกิน 50 มิลลิเมตร เช่น การเผลอไปจับด้วยมือ
2 = สามารถป้องกันของแข็งที่มีขนาดไม่เกิน 12 มิลลิเมตร เช่น เผลอแตะด้วยนิ้ว
3 = สามารถป้องกันของแข็งที่มีตั้งแต่ 2.5 มิลลิเมตรขึ้นไป เช่น เครื่องมือ สายไฟ
4 = สามารถป้องกันของแข็งที่มีตั้งแต่ 1 มิลลิเมตรขึ้นไป เช่น เครื่องมือ สายไฟ และสายไฟขนาดเล็ก
5 = สามารถป้องกันฝุ่นได้ในระดับหนึ่ง
6 = สามารถป้องกันฝุ่นได้

ความหมายของตัวเลขหลักที่สอง

0 = ไม่ป้องกันอะไรเลย
1 = สามารถป้องกันน้ำหยดใส่ได้ เช่น หยดน้ำที่เกิดจากความชื้น
2 = สามารถป้องกันละอองน้ำที่เข้ามาในมุมไม่เกิน 15 องศาจากแนวตั้ง
3 = สามารถป้องกันละอองน้ำที่เข้ามาในมุมไม่เกิน 60 องศาจากแนวตั้ง
4 = สามารถป้องกันละอองน้ำได้จากทุกทิศทาง
5 = สามารถป้องกันน้ำได้ในระดับหนึ่ง
6 = สามารถเปียกน้ำได้แต่ไม่นาน เช่น โดนฝน
7 = สามารถจุ่มน้ำได้ที่ความลึกตั้งแต่ 15 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร
8 = สามารถใช้งานใต้น้ำได้

ตัวอย่าง เช่น IP25 หมายความว่า สามารถป้องกันของแข็งขนาดไม่เกิน 12 มิลลิเมตรได้ และสามารถป้องกันน้ำได้ระดับนึงนั่นเองครับ

SNAG-0124

ฉกโบรชัวร์กลับมาด้วย พนักงานขายบอกว่า นี่คือ ระบบนิรภัย 9 อย่างของ Panasonic E-Shower ที่เป็นจุดขายเลยครับ

พอฟังพนักงานเก่งๆ เค้าเล่าให้ฟังเนี่ย มันเคลิ้มจริงๆเลยนะครับ รูดบัตรเครดิตซื้อมาแบบงงๆ เหมือนโดนสะกดจิตเลยครับ ฮ่า

เอาเป็นว่า ตอนนี้ผมก็รอเจ้าหน้าที่มาติดตั้งให้อยู่ครับ ใกล้หน้าหนาวแล้ว จะได้นอนแช่น้ำอุ่นสบายๆครับ อิอิ

 

 

Check Also

การเรียนรู้รูปแบบใหม่ของ ม.กรุงเทพ ที่ทำให้อยากกลับไปเป็นนักเรียนอีกครั้ง

นี่คือความรู้สึกของผมจริงๆ ตอนที่นั่งฟังอยู่ในงานแถลงข่าวเปิดตัวหลักสูตรใหม่ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เมื่อวันอังคารที่ 18 มิถุนายน 2019 ที่ผ่านมานี่แหละ ต้องเล่าให้ฟังก่อน ที่ ม.กรุงเทพเนี่ย เป็นมหาวิทยาลัยที่จะใช้ Creativity หรือความคิดสร้างสรรค์ เป็นแกนกลางแล้วนำไปผสานกับเทรนด์อื่นๆของโลก เพื่อสร้างเป็นหลักสูตร …

6 comments

Leave a Reply