การ Backup คืออะไร?
Backup หรือภาษาไทยที่เรียกกันว่า การสำรองข้อมูลนั้น ก็คือ การทำยังไงก็ได้ ให้เรามีข้อมูลที่เราคิดว่า สำคัญ หายไม่ได้ เสียก็ไม่ได้ เก็บไว้ในที่นึงอย่างปลอดภัย ซึ่งเทคนิคง่ายๆที่ผมใช้ในการเริ่มการ Backup ก็มีดังต่อไปนี้ครับ
- สำรวจตัวคุณเองก่อนว่าอะไรในเครื่องสำคัญและหายไม่ได้ เช่น รูปถ่ายที่ไปเที่ยว , เอกสารต่างๆ , ไฟล์โปรแกรม , License ของ โปรแกรมที่ซื้อไว้ อันนี้ก็ต้องสำรวจในเครื่องกันเอาเองนะครับ
- สำรวจปริมาณของข้อมูลที่เราจะ Backup ซึ่งส่วนนี้จะมีผลกับ สื่อที่เราจะนำ ข้อมูลสำรองของเราไปเก็บครับ
- ตรวจสอบความถี่ในการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เราจะเก็บ เช่น ถ้าเกิดข้อมูลเป็นเอกสารที่เราสร้างมาแล้ว ไม่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ เช่นพวก รายงานหรือวิทยานิพนธ์ ตรงนี้ก็อาจจะเขียน CD/DVD เก็บไว้ได้ แต่ถ้าเกิดเป็นไฟล์รูปภาพที่เพิ่มขึ้นทุกวัน , เอกสารการงาน อันนี้ก็อาจจะต้องเปลี่ยนสื่อที่จะเก็บข้อมูลเป็นพวก External Harddisk แทน
- จัดเรียงข้อมูลที่จะ Backup ให้เป็นหมวดหมู่ ตรงนี้จะทำให้เราสามารถ Backup ได้ง่าย เพราะเวลาที่เราเพิ่มไฟล์ใหม่เข้าไปในระบบ Backup เราจะเข้าใจทันทีว่า งานที่จะ Backup ชิ้นนี้ต้องไปเก็บไว้ที่ไหน
- หมั่น Backup เสมอๆ เรื่องนี้ก็แล้วแต่ความสะดวก และความสำคัญของข้อมูลครับ ถ้าเอกสารสำคัญมาก ก็ต้องถี่หน่อยเช่นรายวัน / อาทิตย์ แต่ถ้าเกิดไม่ค่อยสำคัญ ก็เดือนละครั้งก็ได้ ตรงนี้ถ้าไม่อยากปวดหัว แนะนำให้ใช้โปรแกรมช่วยเช่น Toucan
- อย่า Backup ที่เดียว … เมื่อก่อนนี้ พวก CD/DVD หรือ External Harddisk อาจจะแพง แต่เดี๋ยวนี้ถูกมากแล้ว ส่วนใหญ่ผมจะ Backup งานสำคัญมากๆ ของผมไว้ 2 ที่ และ ห้ามอยู่ด้วยกัน เช่น เก็บไว้ใน HDD แล้วก็ Upload เก็บไว้ในบริการฝากไฟล์ใน Internet เช่นรูป ก็ฝากกับ Flickr , ไฟล์ก็เก็บไว้กับ Online Storage อย่าง Microsoft Skydrive ,Dropbox หรือ iDrive
- หมั่นเข้าไปตรวจสอบ Backup เสมอๆ หรือเรียกง่ายๆก็คือ ทดสอบการ Restore นั่นแหละครับ บางคน คิดว่าตัวเอง เลือก Backup ได้ถูกที่ ถูกไฟล์แลว ปรากฏว่าผิด ผลก็คือ ตอนที่อยากจะกู้จริงๆกลับไม่มีซะงั้น
นี่ก็คือ 7 ขั้นตอน Backup ง่ายๆ ที่ผมคิดว่า เหมาะกับผู้ใช้ตามบ้านทั่วไปครับ จริงๆ ถ้าเป็นระดับองค์กร เค้าจะคำนึงถึงระยะเวลาในการ Restore ข้อมูลกันด้วยว่า ต้องเสียเวลาเท่าไหร่ในการกู้ข้อมูลกลับมา หรือเก็บข้อมูลไว้ในธนาคาร พร้อมกุญแจสองดอก แยกกันไข อะไรแบบนั้นมันก็เว่อไป เอาแบบนี้แหละครับ ง่ายและเหมาะกับผู้ใช้ตามบ้านดี
อืม…ขอบคุณครับ..งานสำคัญ หายไปเสียดายตายเลย..สะสมมาทั้งชีวิต เก็บไว้กันดีๆนะครับ
คนที่เห็นความสำคัญของการ backup ส่วนใหญ่จะต้องผ่านประสบการณ์สูญเสียหรือเกือบเสียข้อมูลที่สำคัญมากๆ ขอบคุณสำหรับคำแนะนำดีๆครับ
ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูลดีๆ